วันที่ 10 – 12 มกราคม 2567  รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นประธานในพิธีเปิดงาน FOUNTAIN NU Online Workshop ณ อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น มหาวิทยาลัยนเรศวร 

     โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน FOUNTAIN NU Online Workshop ภายใต้โครงการ Fostering Sustainable University-industry Techno-entrepreneurial Collaborations and Innovations in Asian Universities (FOUNTAIN) โครงการที่มีระยะเวลา 3 ปี ซึ่งได้รับทุนจาก the European Education and Culture Executive Agency  (EACEA), โครงการ Erasmus+ ภายใต้กรอบ Capacity Building in the field of Higher Education: Strand 2 – Partnerships for transformation in higher education. 

     ทั้งนี้ มีนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจาก 5 ประเทศสมาชิกคือ ศรีลังกา, ไทย, สวีเดน, ลิธัวเนีย, และเอสโตเนีย   จาก 10 สถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, University of Ruhuna, University of Peradeniya, Rajarata University of Sri Lanka, Sabaragamuwa University of Sri Lanka, Horizon College of Business & Technology, Tallinn University of Technology, Vilnius Gediminas Technical University และ Mid Sweden University เข้าร่วมงานสัมมนานี้ 

     การจัดงาน FOUNTAIN NU Online Workshop ในห้วงวันที่ 10 – 12 มกราคม 2567  เป็นการเปิดโอกาสให้นักวิชาการได้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความร่วมมือด้านต่างๆซึ่งกันและกัน โดยได้แบ่งเป็นกลุ่มตามประเทศเพื่อเข้าร่วมในการหารือที่ได้รับความสนใจ โดยครอบคลุมการอัปเดตในแพ็คเกจงานตามที่ระบุในโครงการ ความรู้จากข้อมูลจากการสำรวจ และสรุปของการศึกษาเอกสารเกี่ยวกับปัญหาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม การประชุมความร่วมมือนี้มีข้อเสนอที่น่าสนใจ เช่น การสนับสนุนการวิเคราะห์นโยบายที่ได้มาจากผลลัพธ์ของโครงการ FOUNTAIN ระหว่างการหารือซึ่งเน้นความสำคัญของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม (University-Industry Collaboration: UIC), โดยเน้นที่บทบาทที่สำคัญของ UIC ในการจัดลำดับมหาวิทยาลัยระดับโลก และได้มีการแนะนำให้สนับสนุนความสำคัญของ UIC ในการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประเทศ  โดยแสดงตัวอย่างที่มีประสิทธิภาพจากประเทศไทยที่การให้ทุนและการสนับสนุนจากรัฐบาลได้กระตุ้นการวิจัยและมูลค่าเศรษฐกิจผ่านการร่วมมือกับภาคเอกชน/ธุรกิจและระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี (Technology Readiness Level: TRL) ได้เป็นอย่างดี 

     สำหรับแพ็คเกจงานที่ 2 ที่เป็นการวางฐานรากสำหรับกิจกรรมโครงการ และแพ็คเกจงานที่ 3 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยกับอุตสาหกรรมทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ แพ็คเกจงานที่ 4 เน้นการพัฒนาโมดูลหลักสูตรที่เป็นนวัตกรรมและเน้นความเป็นผู้ประกอบการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและอุตสาหกรรม แพ็คเกจงานที่ 5 มีเป้าหมายในการสร้างศูนย์ความเป็นเลิศในการประกอบการ, การคิดสร้างสรรค์, และนวัตกรรม นอกจากนี้, แพ็คเกจงานที่ 6 และ 7 ครอบคลุมการดำเนินการด้านการประกันคุณภาพโครงการ การกระจายข่าวสาร และใช้ประโยชน์จากโครงการ เพื่อให้มั่นใจว่าโครงการได้ดำเนินการภายใต้มาตรฐานที่สูงสุดตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ 

     การประชุมในวันแรก ผู้เข้าร่วมประชุมได้หารือกันอย่างเข้มข้นถึงประเด็นความคืบหน้าของแพ็คเกจงานต่างๆ ภายใต้โครงการ ข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการสำรวจ และการสรุปเอกสารการศึกษาในด้านความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลับกับภาคอุตสาหกรรม  การหารือเสนอให้มีการจัดทำข้อเสนอที่สำคัญ เช่น การนำการวิเคราะห์เชิงนโยบายอันได้มาจากผลลัพธ์โครงการ FOUNTAIN ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ศรินทร์ทิพย์ แทนธานี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แสดงความประสงค์ให้มีการนำเสนอประเด็นสำคัญของโครงการทั้งในระดับองค์กรและในระดับประเทศ  

     สำหรับการประชุมวันที่สอง ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและศรีลังกาได้นำเสนอความเห็นและประสบการณ์ทางด้าน UIC ต่อที่ประชุมและโดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างหลากหลายในภาคเช้า ส่วนภาคบ่าย มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการในกลุ่ม EU คือ Prof. Emlyn Witt จาก Tallinn University of Technology และ Prof. Arturas Kaklauskas จาก Vilnius Gediminas Technnical University และ Assoc. Prof. Evangelia Petridou กับ Ms. Jenny Nylud จาก Mid Sweden University/Peak Innovation Science Park ได้ร่วมกันนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินงานด้าน UIC อันครอบคลุมถึงบริบทจากกรณีศึกษาจากสหภาพยุโรป (European Union: EU) ไล่เลียงลงมาจนถึงในระดับประเทศและระดับสถาบ้น นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งกลุ่มอภิปรายของผู้เข้าร่วมประชุมก่อนปิดท้ายด้วยการทบทวนและนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีด้าน UIC ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและศรีลังกา 

     โดยในระหว่างช่วงการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีนั้น มหาวิทยาลัยในศรีลังกาได้นำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีทางด้านการกิจการรมแลกเปลี่ยน (Mobility) โดยได้รับการประเมินสูงสุดในประเด็นการสร้างความสัมพันธ์ (Relationships) โดยประสิทธิผลจากกิจกรรมแลกเปลี่ยน (Mobility) อยู่ในระดับกลาง และความสำเร็จทางการถ่ายทอด (Transfer) อยู่ในระดับต่ำ ผู้นำเสนอยังได้เน้นถึงความแตกต่างของปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานด้านวิชาการและอุตสาหกรรม รูปแบบของ UIC และการให้บริการในระดับอุดมศึกษา สำหรับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ได้อภิปรายถึงความแตกต่างของการมีส่วนร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคอุตสาหกรรม (University-Industry Engagement: UIE) เช่น การสนับสนุนงบประมาณในการทำวิจัย การทำวิจัยร่วม การทำสัญญาวิจัย การให้คำปรึกษา การขอสิทธิบัตร การฝึกงาน/สหกิจศึกษา ตลอดจนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในรูปแบบอื่น ทั้งนี้ ผู้สำเสนอฝ่ายไทยได้ให้ความสำคัญกับแนวปฏิบัติที่ดีในประเทศซึ่งรวมถึงการวิจัย P80 Logan Natural Extract จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการวิจัย The Use of Cricket Protein as a Functional Food Industry Ingredient จากมหาวิทยาลัยนเรศวร 

     ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยในประเทศเอสโตเนีย ได้นำเสนอโครงการแนวปฏิบัติที่ดีในระดับ EU จาก The European Innovation Council (EIC) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงฐานข้อมูลด้านงานวิจัยระดับชาติของเอสโตเนีย ตลอดจนแพล็ตฟอร์ม adapter.ee ซึ่งบริษัทและหน่วยงานต่างๆ สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย รวมถึงแพล็ตฟอร์มอื่น เช่น Tehnopol Science and Business Park นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมยังทราบถึงแนวปฏิบัติที่ดีของมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดสองแห่งจากเอสโดเนียคือ Tartu University และ Tallinn University of Techmology อีกด้วย สำหรับมหาวิทยาลัยจากประเทศลิธัวเนีย ได้บรรยายถึงสถานะของรายรับที่ได้จากการวิจัยที่ทำร่วมกับภาคอุตสาหกรรม และผลงานตีพิมพ์จากความร่วมมือเชิงพาณิชย์โดยอิงตามประเทศและหัวข้อวิจัย ตลอดจนการนำเสนอตัวอย่างของแนวปฏิบัติที่ดีของประเทศลิธัวเนียด้วย ต่อมามหาวิทยาลัยในประเทศสวีเดนได้นำเสนอผลงานจาก Peak Innovation Science Park และโครงการเชิงยุทธศาสตร์นวัตกรรมภายใต้โครงการความร่วมมือในลักษณะประสานประโยชน์ และการให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์กรเพื่อการประสานประโยชน์ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกตลอดจนการดึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกเข้ามาสร้างการตระหนักรับรู้ถึงสิ่งที่กำลังจะดำเนินการแต่เนิ่นๆ เพื่อเป็นการสร้างความไว้วางใจและกระชับความสัมพันธ์ 

     สำหรับการประชุมวันสุดท้าย ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและศรีลังกาได้อภิปรายถึงข้อมูลเชิงลึกและประสบการณ์จาก UIE CAMP ในภาคเช้า และในภาคบ่ายเป็นการอภิปรายโดยผู้แทนจากมหาวิทยาลัยในยุโรปในประเด็นเดียวกัน และปิดการประชุมด้วยการสรุปแนวคิด โครงสร้าง และผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจาก CAMP โดยตลอดระยะเวลาของการประชุมทั้ง 3 วัน ได้มีการนำเสนอ อภิปราย หารือแบบเข้มข้น ภายใต้กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาสมาชิก FOUNTAIN เพื่อจัดทำกรอบการดำเนินงานของโครงการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันเป็นการสนองตอบวัตถุประสงค์และกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป  

 

 

 

  

Loading