มหาวิทยาลัยนเรศวร : Naresuan University

มหาวิทยาลัยนเรศวร

สามารถติดตามข่าวสารทุนการศึกษาได้ที่ เว็บไซต์กองกิจการนิสิต

– กองกิจการนิสิต
– กองพัฒนากิจการต่างประเทศ

มหาวิทยาลัยนเรศวรมีหอพักสำหรับนิสิตปี 1 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

กองกิจการนิสิต โทร 0 5596 1284-90

กรณี จบ ปวช. และ ปวส. สามารถสมัครเข้าศึกษาได้ ใน TCAS รอบที่ 3 Admission แต่ผู้สมัครจะต้องมีคะแนนการสอบ O-NET และคะแนนการสอบ GAT/PAT ตามเกณฑ์ที่แต่ละสาขาวิชากำหนด

หากต้องการสอบถามข้อมูลการกู้เงิน กยศ. และ กรอ. ให้ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กองบริการการศึกษา งานส่งเสริมการจัดการศึกษา หน่วยทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โทร. 0-5596-8316 และ 0-5596-8317

เว็บไซต์ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

คำถามเกี่ยวกับทะเบียนนิสิต : กองบริการการศึกษา

กรณีนิสิตลงทะเบียนเรียนไม่ทันตามเวลาที่กำหนดต้องทำอย่างไร

นิสิตสามารถลงทะเบียนล่าช้าได้อีก 2 สัปดาห์นับจากวันเปิดภาคเรียน แต่มีค่าปรับวันละ 25 บาท ตามประกาศฯ

กรณีลงทะเบียนเรียนแล้วจะเพิ่มรายวิชาหรือถอนรายวิชา โดยไม่ติดอักษร w ทำอย่างไร

สามารถดำเนินการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตภายใน 2 สัปดาห์จากวันเปิดภาคเรียน เมื่อนิสิตลงทะเบียนเพิ่ม – ถอนรายวิชาจนพอใจแล้วให้พิมพ์ใบแจ้งยอดชำระเงินไปชำระเงินตาม – วัน เวลาที่กำหนด (ประมาณ 1 สัปดาห์)

กรณีที่พ้นกำหนด 2 สัปดาห์นับจากวันเปิดภาคเรียนยังไม่ได้ลงทะเบียนเรียนและยังไม่ชำระเงินในเวลาที่กำหนด นิสิตจะถูกถอนชื่อแล้วต้องทำอย่างไร

นิสิตจะต้องทำคำร้องขอคืนสภาพและลงทะเบียนเรียนล่าช้าภายใน 5 สัปดาห์ นับจากวันพ้นกำหนดการชำระเงิน โดยใช้เอกสารคำร้อง NU7 พร้อมชำระค่าปรับตามประกาศของมหาวิทยาลัยในการขอลงทะเบียนล่าช้าที่กองคลัง

กำหนดให้ลงทะเบียนเรียนแต่ละภาคเรียนไม่เกิน 22 หน่วยกิตในภาคเรียนปกติ และไม่เกิน 9 หน่วยกิตในภาคเรียนฤดูร้อน กรณีนิสิตมีความประสงค์จะลงเกินที่กำหนด ต้องทำอย่างไร

ต้องรีบดำเนินการเขียนคำร้อง NU 18 ผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาและคณบดี ตามลำดับ โดยให้นิสิตระบุหน่วยกิตรวมที่ขอเพิ่มรวมเป็นกี่หน่วยกิต พร้อมเหตุผล เพื่อเป็นข้อมูลในการตรวจสอบ

นิสิตมีความประสงค์จะลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่มีผู้เรียนลงเรียนเต็มแล้ว หรือ รายวิชาที่เปิดไว้เฉพาะกับนิสิตบางกลุ่มเท่านั้น ต้องทำอย่างไร

    ให้นิสิตดำเนินการยื่นคำร้อง NU 6 ผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาและคณบดีต้นสังกัด (ให้ความเห็นและลงนาม)  หลังจากนั้นเสนอต่ออาจารย์ผู้สอน ภาควิชาและต้นสังกัดรายวิชา (ให้ความเห็นและลงนาม) แล้วจัดส่ง NU 6 ที่คณะต้นสังกัดรายวิชา เพื่อให้คณะสำรองที่นั่งในรายวิชาในระบบจัดตารางเรียนต่อไป

   หมายเหตุ กรณีอยู่ในช่วงการลงทะเบียน เพิ่ม-ถอน รายวิชา ให้นิสิตดำเนินการเพิ่มรายวิชาบนระบบทะเบียนออนไลน์   แต่หากพ้นช่วงการลงทะเบียนเรียน เพิ่ม-ถอนรายวิชาแล้ว ให้นิสิตยื่นคำร้อง NU 8 พร้อมแนบคำร้อง NU 6 เพื่อขอลงทะเบียนเรียนเพิ่มโดยมีค่าปรับเป็นรายสัปดาห์

* ทั้งนี้ ยกเว้นรายวิชาศึกษาทั่วไปเนื่องจากการสำรองจำนวนผู้เรียนรายวิชาศึกษาทั่วไป จะสำรองจำนวนตามแผนการเรียนตามแผนการศึกษาของแต่ละหลักสูตร *

รายวิชาใดที่นิสิตเคยลงทะเบียนเรียนและสอบได้ผลการเรียน F,D,D+ นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนซ้ำได้ หากนิสิตต้องการลงลงทะเบียนซ้ำ แต่ลงไม่ได้อาจมีสาเหตุมาจาก รายวิชานั้นอาจไม่เปิดให้กับหลักสูตรของนิสิต จึงไม่สามารถลงทะเบียนเรียนซ้ำได้

นิสิตต้องติดต่อผู้สอน โดยใช้คำร้อง NU 6 เพื่อให้ผู้สอนอนุญาตและเพิ่มจำนวนนิสิตในหมู่เรียนหรือรหัสหลักสูตรของนิสิต โดยยื่น NU 6 ที่คณะต้นสังกัดรายวิชา เพื่อให้คณะสำรองที่นั่งรายวิชาในระบบจัดตารางเรียน จากนั้น นิสิตดำเนินการลงทะเบียนผ่านระบบทะเบียนออนไลน์ต่อไป

การลงทะเบียนเรียนผิดเงื่อนไข คือลงทะเบียนเรียนรายวิชาต่อเนื่องโดยไม่ผ่านวิชาบังคับก่อน ทำให้ผลการลงทะเบียน เป็นโมฆะ

อาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิตควรศึกษาหลักสูตรรายวิชา ในกรณีที่รายวิชานั้น ๆ กำหนดให้มีวิชาบังคับก่อนนิสิตต้องเรียนและต้องสอบผ่านได้ระดับขั้น D ขึ้นไปจึงสามารถเรียนวิชาต่อเนื่องได้

เช่น รายวิชาไม่ได้จัดไว้ในหลักสูตรของนิสิต และ จำนวนนิสิตในหมู่เรียนเต็ม และ เวลาเรียนทับซ้อนกัน

แนวทางแก้ไข

–  นิสิตที่ต้องการย้ายคณะและสาขาวิชา ควรจะดำเนินการยื่นคำร้องให้เสร็จสิ้นก่อนวันลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัยนเรศวรกำหนดอย่างน้อย 4 สัปดาห์ เพื่อจักได้มีเวลาในการวางแผนการเรียน การลงทะเบียนและติดต่อผู้สอนได้ทันการ

 

–  นิสิตต้องศึกษาแผนการเรียน หลักสูตรของตนเองจากคู่มือนิสิต ตรวจสอบรายวิชาที่เปิดสอนที่ระบบทะเบียนออนไลน์ www.reg.nu.ac.th พร้อมทั้งตรวจสอบว่ารายวิชาหรือหมู่เรียนนั้นเปิดไว้ให้กับนิสิตคณะใดหรือหลักสูตรใด

 

–  หากมีรายวิชาที่เปิดสอนในระบบทะเบียนออนไลน์ www.reg .nu.ac.th แต่ไม่สามารถลงทะเบียนเรียนได้ เนื่องจากไม่ได้สำรองให้หลักสูตรของนิสิต ให้นิสิตดำเนินการยื่นคำร้อง NU 6 ผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาและคณบดีต้นสังกัด (ให้ความเห็นและลงนาม)  หลังจากนั้นเสนอต่ออาจารย์ผู้สอน ภาควิชาและต้นสังกัดรายวิชา (ให้ความเห็นและลงนาม) แล้วจัดส่ง NU 6 ที่คณะต้นสังกัดรายวิชา เพื่อให้คณะสำรองที่นั่งในรายวิชาในระบบจัดตารางเรียนต่อไป

 

   หมายเหตุ กรณีอยู่ในช่วงการลงทะเบียน เพิ่ม-ถอน รายวิชา ให้นิสิตดำเนินการเพิ่มรายวิชาบนระบบทะเบียนออนไลน์   แต่หากพ้นช่วงการลงทะเบียนเรียน เพิ่ม-ถอนรายวิชาแล้ว ให้นิสิตยื่นคำร้อง NU 8 พร้อมแนบคำร้อง NU 6 เพื่อขอลงทะเบียนเรียนเพิ่มโดยมีค่าปรับเป็นรายสัปดาห์

 

–  นิสิตควรดำเนินการติดต่อคณะต้นสังกัดรายวิชาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อดำเนินการขอเปิดรายวิชาหรือขอเปิดหมู่เรียนเพิ่มหรือขอเปลี่ยนแปลงรหัสหมู่เรียนหรือขอเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้เรียนก่อนวันลงทะเบียน เพื่อจักได้ลงทะเบียนเรียนในเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้ทัน

นิสิตไม่รู้ว่าผลการเรียนพ้นสภาพเป็นนิสิต ตามข้อบังคับ

     มหาวิทยาลัยจะจำแนกสภาพนิสิต เมื่อสิ้นสุดทุกภาคการศึกษา สำหรับผลการเรียนภาคฤดูร้อนจะนำไปรวมกับผลการเรียนในภาคการศึกษาต่อไป ที่นิสิตลงทะเบียนเรียนยกเว้นนิสิตที่สำเร็จการศึกษาในภาคฤดูร้อน   นิสิตปกติ ต้องมีผลการเรียน 2.00 ขึ้นไป นิสิตรอพินิจ คือนิสิตที่มีผลการเรียนสะสมต่ำกว่า 2.00 การคิดสภาพนิสิตจากผลการเรียน 

–  ถ้านิสิตเรียนมาแล้วครบสองภาคการศึกษาปกติแล้วผลการเรียนไม่ถึง 1.50 พ้นสภาพนิสิต

–  ถ้านิสิตเรียนมาแล้วครบสี่ภาคการศึกษาปกติ ผลการเรียนสะสมไม่ถึง 1.75 พ้นสภาพนิสิต

–  และถ้านิสิตที่เรียนมาแล้วสี่ภาคการศึกษาปกติขึ้นไป ผลการเรียนไม่ถึง 1.75 พ้นสภาพนิสิต

แนวทางแก้ไข

– นิสิตและอาจารย์ที่ปรึกษา สามารถใช้บริการระบบทะเบียนออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการเรียกใช้ข้อมูลของงานทะเบียนนิสิตและประมวลผล อาจารย์ที่ปรึกษาสามารถเรียกข้อมูลนิสิต เพื่อตรวจสอบการลงทะเบียนเรียน ผลการเรียนตรวจสอบจบ ข้อมูลประวัตินิสิต สามารถควบคุมการลงทะเบียนและส่งข้อความถึงนิสิตได้

– กรณีตรวจสอบผลการเรียน ทั้งนิสิตและอาจารย์ที่ปรึกษาสามารถดูผลการเรียนได้ มีทั้งข้อมูลรายภาคการศึกษา หรือทั้งหมดตั้งแต่เข้าศึกษาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนิสิตและอาจารย์ที่ปรึกษาสามารถเลือกใช้โปรแกรมทดลอบเกรด สำหรับรายวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ เพื่อทดลองคำนวณ GPA เพื่อเป็นการวางแผนการเรียนต่อไป

แนวคำปรึกษาและ แนวทางแก้ไข

นิสิตที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษา ต้องยื่นแบบขอสำเร็จการศึกษาภายใน 4 สัปดาห์นับจากวันเปิดภาคเรียน   ปัญหาคือ นิสิตที่เคยยื่นแล้วแต่ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้โดยมีสาเหตุมาจากได้รับอักษร I,P หรือ U หรือผลการเรียนติดอักษร I,P หรือ U หรือผลการเรียนไม่ถึง 2.00 ในภาคเรียนถัดไปที่ต้องแก้ไขผลการเรียน I,P หรือ U หรือ ลงทะเบียนรายวิชานั้น นิสิตไม่ได้ยื่นขอสำเร็จการศึกษาใหม่ทำให้ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้

แนวทางแก้ไข

     ในภาคเรียนใดที่นิสิตคาดว่าจะสำเร็จการศึกษา ต้องยื่นขอสำเร็จการศึกษาในเวลาที่กำหนดถ้าไม่สำเร็จการศึกษาก็ต้องยื่นใหม่ซ้ำอีก จนกว่าจะสำเร็จการศึกษาในกรณีที่แก้ไขอักษร I,P นิสิตต้องรีบดำเนินการติดต่ออาจารย์ผู้สอนเพื่อขอแก้ไขอักษร I,P ทั้งนี้การยื่นขอแก้ไขอักษร I,P และยื่นขอสำเร็จการศึกษาใหม่ นิสิตจะต้องมีสถานภาพการเป็นนิสิต ดังนั้นนิสิตจะต้องลงทะเบียนรักษาสภาพนิสิต ตามระเบียบด้วย

การขอเปลี่ยนชื่อ – สกุล ต้องเขียนคำร้องผ่านอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรับทราบการเปลี่ยน ชื่อ – สกุล

แนวทางการแก้ไข

     นิสิตควรเข้าไปตรวจสอบประวัตินิสิต ใน www.reg.nu.ac.th ว่าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง ให้รีบแจ้งงานทะเบียนนิสิตฯ เพื่อแก้ไขให้ถูกต้อง เพื่อเอกสารสำคัญทางการศึกษาที่ออกให้กับนิสิตเวลาที่สำเร็จการศึกษาจักได้ถูกต้อง

นิสิตไม่รู้ว่ารายวิชาระดับปริญญาตรี ที่มีรหัสขึ้นต้นด้วย 001xxx ไม่สามารถนำไปใช้เป็นรายวิชาเลือกเสรี หากนิสิตเลือกเรียนเป็นวิชาเลือกเสรี ไม่สามารถสำเร็จการศึกษาได้

แนวทางแก้ไข

     หมวดวิชาเลือกเสรี  เป็นรายวิชาที่เปิดโอกาสให้นิสิตเลือกเรียนวิชาใด ๆ ในหลักสูตรปริญญาตรี ยกเว้นรายวิชาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้นิสิตได้ขยายความรู้ทางวิชาการให้กว้างขวางออกไป เพื่อเป็นการส่งเสริมความถนัด ความสนใจของนิสิตมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

แนวคำปรึกษาและ แนวทางแก้ไข

    ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในแผนการเรียนตามหลักสูตรของนิสิตส่วนใหญ่กำหนดให้นิสิตต้องเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปและพื้นฐานเฉพาะด้านให้เสร็จสิ้นภายในชั้นปีที่ 2 แต่นิสิตบางคนมีความสามารถเฉพาะทางในสาขาวิชาของตน ต้องการที่จะเรียนวิชาเฉพาะสาขาก่อน โดยไม่สนใจวิชาพื้นฐานหรือสนใจแผนการเรียนที่กำหนดในหลักสูตร พยายามที่จะลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่ตนเองชอบหรือต้องการจะเรียนก่อน ส่งผลให้ต้องตกแผนการเรียน สร้างความยุ่งยากในการจัดตารางเรียน โดยเฉพาะวิชาเฉพาะสาขา หากคณะใดมีนิสิตที่ตกแผนการเรียนจำนวนมาก การบริหารจัดการรายวิชาหรือการจัดตารางเรียนจะประสบกับปัญหายุ่งยาก บางครั้งต้องเปิดหมู่เรียนใหม่ เพื่อนิสิตที่ตกแผนการเรียนโดยเฉพาะ นับว่าเป็นปัญหาต่อการบริหารจัดการอย่างยิ่ง

 

แนวทางแก้ไข

     สำหรับปัญหานิสิตไม่ลงทะเบียนเรียนตามที่แผนการเรียนในหลักสูตรกำหนด จากการสังเกตจะพบว่ามีเพียงบางคณะเท่านั้นที่เกิดปัญหาดังกล่าว ดังนั้น หากคณะต้นสังกัดต้องการที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาจจะกระทำได้โดยไม่ยาก เพียงแต่ต้องติดตามการลงทะเบียนของนิสิตตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 อย่างใกล้ชิด พบปะนิสิตเพื่อให้คำปรึกษา และแนะนำในด้านการลงทะเบียนและการเรียนของนิสิตให้บ่อยครั้ง จะช่วยให้คณะบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น ดังเช่นบางคณะที่มีการบริหารจัดการในลักษณะดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ มีการพบนิสิต แนะนำนิสิต ให้คำปรึกษาอยู่ตลอดเวลาพบว่าคณะนั้น ๆ ไม่ประสบกับปัญหาการตกแผนการเรียนของนิสิต หรือหากมีก็จะพบว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับคณะที่ปล่อยให้นิสิตลงทะเบียนตามความต้องการของนิสิต โดยไม่คำนึงถึงแผนการเรียนและหลักสูตร

คำถามเกี่ยวกับหลักสูตร : กองบริการการศึกษา

หลักสูตรใหม่/หลักสูตรปรับปรุง

A : ต้องเสนอที่ประชุม ดังนี้

  1. ที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการ
  2. ที่ประชุมสภาวิชาการ
  3. ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย

A : วงรอบการปรับปรุงหลักสูตร คือ 5 ปีหลังจากการเปิดการเรียนการสอน แต่สามารถปรับปรุงหลักสูตรก่อนวงรอบได้  โดยนับจากหน้าเล่ม มคอ.2 ว่าเป็นหลักสูตรใหม่/ปรับปรุง พ.ศ. อะไร

A : 1. สำรวจความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder’s Needs) โดยเขียนแสดงวิธีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายคือใคร (Who) มีวิธีการสำรวจ เก็บข้อมูล อย่างไร (How) และสรุปข้อมูลว่าแต่ละกลุ่มเป้าหมายมีความต้องการอะไร (What) เพื่อมากำหนดผลการเรียนรู้ของหลักสูตร Program Learning Outcomes (PLOs)

2. จัดทำในลักษณะบทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) สรุปประเด็น การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน วิธีการเก็บข้อมูลในแต่ละกลุ่มทำอย่างไร การสรุปข้อมูลที่ได้จากแต่ละกลุ่ม การสรุปประเด็นที่เหมือนกันของแต่ละกลุ่มและเชื่อมโยงกับ PLOs และการออกแบบโครงสร้างหลักสูตร รายวิชา

3.การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร PLOs ไม่ควรเกิน 10 PLOs

A :  – หลักสูตรใหม่/ปรับปรุง พ.ศ. 2565 ใช้หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563

      – หลักสูตรใหม่/ปรับปรุง พ.ศ. 2566 ใช้หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2566

      – หลักสูตรใหม่/ปรับปรุง พ.ศ. 2567 ใช้หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2567

A : การเขียนคำอธิบายรายวิชา มีดังนี้ ให้เรียงรหัสวิชาจากเลขน้อยไปหามาก คำอธิบายภาษาไทย ไม่ควรมีสัญลักษณ์ หรือ เครื่องหมายวรรคตอน ในคำอธิบายภาษาอังกฤษใช้เครื่องหมาย ( ; ) ใช้แบ่งประโยค ( , ) ใช้แบ่งคำ และ ( : ) ใช้ยกตัวอย่าง เช่น

A : 1. หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

  • หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
  • หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาการ

2. หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

  • หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ
  • หลักสูตรปริญญาตรีแบบก้าวหน้าทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ

A :   ตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี

พ.ศ. 2565 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรรดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565

“อาจารย์ประจำ” หมายถึง บุคคลที่ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์

ศาสตราจารย์ และตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่าในสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้นตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด

หรือบุคคลในองค์กรภายนอกที่มีการตกลงร่วมผลิต ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบตามพันธกิจของการอุดมศึกษา

และมีความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

“อาจารย์ประจำหลักสูตร” หมายถึง อาจารย์ประจำที่มีคุณวุฒิตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชา

ของหลักสูตรที่สภาสถาบันอุดมศึกษาเห็นชอบหรืออนุมัติ มีหน้าที่สอนและค้นคว้าวิจัยในสาขาวิชา

ดังกล่าว ทั้งนี้ สามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรหลายหลักสูตรได้ในเวลาเดียวกัน

“อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร” หมายถึง อาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีภาระหน้าที่ในการบริหาร

และพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน ตั้งแต่การวางแผน การควบคุมคุณภาพ การติดตามประเมินผล

และการพัฒนาหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องอยู่ประจำหลักสูตรนั้นตลอดระยะเวลา

ที่จัดการศึกษา โดยจะเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเกินกว่า ๑ หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้

ยกเว้น หลักสูตรพหุวิทยาการหรือสหวิทยาการ ให้เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้อีกหนึ่งหลักสูตร

ในกรณีนี้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถซ้ำได้ไม่เกิน ๒ คน และปริญญาโท-เอก ที่มีสาขาวิชาเดียวกันสามารถซ้ำกันได้

                “อาจารย์พิเศษ” หมายถึง ผู้สอนที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำ

A : 1. ใช้แบบฟอร์มผลงานทางวิชาการ (แบบใหม่) ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซด์งานพัฒนาหลักสูตรโดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566

  1. ผลงานทางวิชาการเป็นไปตามเกณฑ์ ก.พ.อ. โดยเขียนรูปแบบ American Psychological Association (APA) พร้อมระบุ (ฐานข้อมูล) ซึ่งเป็นผลงานในรอบ ๕ ปีย้อนหลัง
         – ปริญญาตรี ผลงาน ๑ เรื่อง
         – ปริญญาโท ผลงาน ๓ เรื่อง โดย ๑ เรื่องต้องเป็นงานวิจัย
         – ปริญญาเอก ผลงาน ๓ เรื่อง ต้องเป็นงานวิจัยทั้ง ๓ เรื่อง
         ***Proceeding ไม่นับ***
  1. แต่ละหัวข้อ เรียงผลงานภาษาไทยขึ้นก่อน ต่อด้วยผลงานภาษาอังกฤษ
  2. แต่ละหัวข้อ เรียงจากปี (พ.ศ. ๒๕๖๖ →๒๕๖๒) หรือ (ค.ศ. ๒๐๒๓ → ๒๐๑๙)
         กรณี    ปีที่ตีพิมพ์ผลงานเป็นปีเดียวกัน ให้เรียงอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่งคนที่ ๑
  3. เรียงผลงานทางวิชาการตามตารางรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร
         กรณี    อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ให้ระบุเครื่องหมาย  *  ต่อท้ายชื่ออาจารย์ และ ระบุ “หมายเหตุ * หมายถึง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร” ท้ายกระดาษ
         กรณี    อาจารย์ใหม่ ให้ระบุ “หมายเหตุ อาจารย์ใหม่ (บรรจุเมื่อวันที่/เดือน/ปี)”ท้ายกระดาษ

A : คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา อ้างอิงตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยนเรศวร ว่าด้วย การศึกษาระดับ…. พ.ศ. 2565 กรณี มีความแตกต่างจากข้อบังคับฯ ให้ระบุเป็นข้อๆ สั้น กระชับ เปิดโอกาสสำหรับผู้ที่สนใจเข้าศึกษา

A : มหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริมและเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ สามารถเข้าถึงองค์ความรู้และบริการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยนเรศวร สนับสนุนในลักษณะ Lifelong Learning การจัดการศึกษาแบบไม่รับปริญญา และสามารถสะสมผลการเรียนไว้ในคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ดังนี้

  1. โครงการสัมฤทธิบัตร (ระดับปริญญาตรี) (ระดับบัณฑิตศึกษา) และ (โครงการสัมฤทธิบัตรสำหรับบุคคลภายนอก) โดยที่จะให้มานั่งเรียนในชั้นเรียนร่วมกับนิสิตปริญญาตรี ซึ่งจะเริ่มดำเนินการภายในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565
  2. หลักสูตรอบรมระยะสั้น (Short Course Training) รูปแบบบริการวิชาการ
  3. หลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree)

A : มหาวิทยาลัยมีนโยบายส่งเสริมและเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ สามารถเข้าถึงองค์ความรู้และบริการทางวิชาการของมหาวิทยาลัยนเรศวร สนับสนุนในลักษณะ Lifelong Learning การจัดการศึกษาแบบไม่รับปริญญา และสามารถสะสมผลการเรียนไว้ในคลังหน่วยกิต (Credit Bank) ดังนี้

  1. โครงการสัมฤทธิบัตร (ระดับปริญญาตรี) (ระดับบัณฑิตศึกษา) และ (โครงการสัมฤทธิบัตรสำหรับบุคคลภายนอก) โดยที่จะให้มานั่งเรียนในชั้นเรียนร่วมกับนิสิตปริญญาตรี ซึ่งจะเริ่มดำเนินการภายในภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565
  2. หลักสูตรอบรมระยะสั้น (Short Course Training) รูปแบบบริการวิชาการ
  3. หลักสูตรประกาศนียบัตร (Non-Degree)