มหาวิทยาลัยนเรศวรจัดกิจกรรมออกหน่วยบริการวิชาการเชิงสาธารณะร่วมกับจังหวัดพิษณุโลก “หน่วย บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้มให้ประชาชน” โดยมีนายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธาน เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงเรียนบ้านนาตอน หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก มีกิจกรรมการให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ยา การจัดการยาเหลือใช้ให้แก่ประชาชน การนิทรรศการเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชน เรื่องธาตุเจ้าเรือน และการสาธิตการทำยาดมสมุนไพร “ฤทธิ์มังกร” ใช้ในครัวเรือนและเชิงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับชุมชนด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม มีประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 246 คน ทั้งนี้ คณะเภสัชศาสตร์และสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน มีคณาจารย์และบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น ดังนี้ รศ.ดร.นิลวรรณ อยู่ภักดี, รศ.ดร.ณัฐกานต์วดี คำภิระแปง, ผศ.ดร.อัมพวรรณ ศรีวิไล, ดร.สุดาพร วงค์วาร, ภกญ.โฉมคนางค์ ภูมิสายดร, ภก.ปรัชญา สวนเอก และนางสาวนันท์นภัส นาคเอม การปฏิบัติงานภาคเชิงพื้นที่ จัดโดย งานพัฒนาเครือข่ายและจัดหาทุน กองส่งเสริมการบริการวิชาการ นำโดย นางสาวดวงพร ลิ้มธรรมรงค์ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานพัฒนาเครือข่ายและจัดหาทุน นายเอกชัย โกมลกิตติ์ นายนันทพล ภาณุไพศาล และนางสาวนันท์นภัส สุมณฑา นิสิตฝึกงาน คณะสังคมศาสตร์ ร่วมปฏิบัติงานในครั้งนี้ด้วย กิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับการขับเคลื่อน SDG 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย เป้าหมายย่อยที่ 3.5 เสริมสร้างการป้องกันและรักษาการใช้สารในทางที่ผิด ซึ่งรวมถึงการใช้ยาเสพติดในทางที่ผิดและการใช้แอลกอฮอล์ในทางที่เป็นอันตราย (มิติด้านสังคม) และ SDG 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เป้าหมายย่อยที่ 12.8 สร้างหลักประกันว่าประชาชนในทุกแห่งมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องและมีความตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนและวิถีชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ภายในปี พ.ศ. 2573 (มิติสิ่งแวดล้อม) รวมถึงความสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน BCG Model : B-Bio Economy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C-Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด

 

Loading