เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยนเรศวร จัดโครงการ “สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประกวดผลงานโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.อุษา พัดเกตุ รักษาการในตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวเปิดโครงการฯ โดยมีกิจกรรมภายในงาน อาทิ การเสวนา ในหัวข้อ “เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กับการพัฒนาสื่อการเรียนรู้” นิทรรศการผลงานการดำเนินโครงการฯ นำเสนอนวัตกรรม ผลงาน จาก 15 สถาบัน และแบ่งกลุ่มการเรียนรู้ ในหัวข้อ “ Trend and Issues in Educational Development for Digital Era” ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา พัดเกตุ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยนเรศวรมอบโล่ เกียรติบัตรและเงินรางวัลแก่ สถาบันที่ชนะเลิศการประกวดผลงานโครงการฯ ณ ห้องประชุมมหาราช 1 ศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (KNECC) ชั้น 2 มหาวิทยาลัยนเรศวร
โดยผลการประกวดโครงการฯ มีดังนี้
ผลงานดีเด่น จำนวน 4 รางวัล ได้แก่
1.มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ โรงเรียนบ้านตลุกกลางทุ่ง
โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนสู่การสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นของโรงเรียนเครือข่ายวิทยาลัยชุมชนตาก
2.มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ โรงเรียนวัดเกรียงไกร (โพธิ์ประสิทธิ์)
โครงการท้องถิ่นร่วมใจเพิ่มรายได้จากสบู่ล้างมือสูตรธรรมชาติ
3.มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดทุ่งสวน)
โครงการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร
4.มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ โรงเรียนเมืองศรีเทพ
โครงการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมบนฐานชุมชนเพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ตามแนวคิด BCG Economy สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์
ผลงานดีมาก จำนวน 7 รางวัล ได้แก่
1.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตนครสวรรค์ รวมกับ โรงเรียนบึงบอระเพ็ด
โครงการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและนวัตกรรมการศึกษาในยุค Next Normal เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
2.วิทยาลัยชุมชนจังหวัดตาก ร่วมกับ โรงเรียนบ้านเจดีย์โคะ
โครงการการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนเกษตรพึ่งตนเองในพื้นที่จังหวัดตาก
3.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมกับ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
โครงการการพัฒนาเครือข่ายครูประถมวัยด้วยรูปแบบ e-CLIP โดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและเพลงเป็นฐาน
4.มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ร่วมกับ โรงเรียนบ้านทุ่งรวงทอง
โครงการการพัฒนาบอร์ดเกมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนตามบริบทโรงเรียนขนาดเล็ก
5.มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ร่วมกับ โรงเรียนอนุบาลบรรพตพิสัย (วัดส้มเสี้ยว)
โครงการการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน โรงเรียนอนุบาลบรรพตพิสัย (วัดส้มเสี้ยว)
6.มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ร่วมกับ โรงเรียนชุมชนบ้านไทรย้อย
โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อลดภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนตามสถานการณ์แพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
7.มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ โรงเรียนเทศบาล 5 วัดพันปี
โครงการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรพัฒนาโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ Smart School ในโรงเรียนสังกัดนครพิษณุโลก
ผลงานดี จำนวน 6 รางวัล ได้แก่
1.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาลัยสงฆ์อุทัยธานี ร่วมกับ โรงเรียนวัดหนองยาง
โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการเรียนเชิงรุก แบบรวมพลัง (Co-5STEPs)
2.วิทยาลัยนอร์เทิร์น ร่วมกับ ศศช.บ้านพะนิกี่
โครงการการแก้ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ของเด็กไทยในศูนย์เรียนรู้ชุมชนชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวง อ.แม่ระมาด จ.ตาก
3.มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ร่วมกับ โรงเรียนหนองโพพิทยา
โครงการการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโพพิทยา
4.มหาวิทยาลัยภาคกลาง ร่วมกับ โรงเรียนหนองพรมหน่อ
โครงการการพัฒนาสื่อการสอนและเพิ่มทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนเพื่อเพิ่มศักยภาพของนักเรียนและชุมชนให้สูงขึ้น
5.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ร่วมกับ โรงเรียนบ้านพี้
โครงการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 โดยบรูณาการสื่อดิจิทัล
6.มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ร่วมกับ โรงเรียนบ้านสักแห้ง
โครงการการสอนการเขียนโค้ดผานการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล (digital storytelling) เพื่อพัฒนานักนวัตกรรมในโรงเรียน